Originals…. Adam Grant

เพราะความเหมือนไม่เคยเปลี่ยนโลก

Rangsit Boonyasettakul
1 min readJul 8, 2023

แนวทางปฎิบัติที่ปลดปล่อยความเป็นต้นแบบ แบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดแรกสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้าง ระบุ เสนอ และ สนับสนุนแนวคิดแปลกใหม่ ชุดที่สองสำหรับผู้นำที่ต้องการกระตุ้นแนวคิดแปลกใหม่ในบริษัท และ สร้างวัฒนธรรมที่เปิดรับความคิดเห็นคัดค้าน ส่วนชุดสุดท้ายมีไว้สำหรับพ่อม่ และครูที่ต้องการช่วยให้เด็กๆ รู้สึกสบายใจที่จะแสดงจุดยืนเชิงสร้างสรรค์หรือ เชิงศีลธรรมเพื่อต่อต้นสภาพที่เป็นอยู่

แนวทางปฏิบัติสำหรับทุกคน

  • สร้างและระบุแนวคิดต้นแบบ
  1. ตั้งข้อสงสัยกับค่าเริ่มต้นอัตโนมัติ — แทนที่จะมองว่าสภาพที่เป็นอยู่คือสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ลองตั้งคำถามว่าทำไมมันถึงมีอยู่ตั้งแต่แรก หาวิธีปรับปรุงมันให้ดีขึ้น
  2. สร้างแนวคิดให้มากขึ้นสามเท่า — การสร้างแนวคิดออกมาให้มากขึ้น
  3. เข้าไปคลุกคลีกในสาขาที่ไม่คุ้นเคย — เรียนรู้ทักษะใหม่ สลับไปทำหน้าที่อื่น เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป
  4. ผัดวันประกันพรุ่งอย่างมีกลยุทธ์ — หยุดชั่วคราว เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น และ ให้แนวคิดมีเวลาในการฟักตัว
  5. แสวงหาคำติชมจากเพื่อนระดับเดียวกันให้มากขึ้น — พวกเขาจะเล็งให้ศักยภาพและความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในแนวคิดนั้น
  • เสนอและสนับสนุนแนวคิดต้นแบบ

6. ปรับพอร์ตความเสี่ยงให้สมดุล — เมื่อลองเสี่ยงด้านหนึ่ง จงชดเชยความเสี่ยงด้วยการระมัดระวังมากกว่าปกติในอีกด้านหนึ่งของชีวิต

7. เน้นย้ำถึงเหตุผลที่ผู้คนไม่ควรสนับสนุนแนวคิดของคุณ — เมื่อผู้คนจำเป็นต้องพยายามอย่างหนักเพื่อคิดหาข้อคัดค้าน พวกเขาก็จะตระหนักถึงคุณค่าของแนวคิดของคุณมากขึ้น

8. ทำให้แนวคิดของคุณเป็นที่คุ้นเคยมากขึ้น — ย้ำถึงแนวคิดหลายๆ ครั้ง หรือเชื่อมโยงมันให้เข้ากับแนวคิดอื่นที่ผู้ฟังเข้าใจอยู่แล้ว

9. พูดกับผู้ฟังที่คิดต่าง — หาคนที่มีความเห็นไม่ตรงกันแต่มีวิธีการแบบเดียวกับคุณ ในด้านความเด็ดเดี่ยวและการแก้ไขปัญหา

10. เป็นคนสุดโต่งที่ยอมอ่อนข้อ — หากแนวคิดสุดโต่ง จงอำพรางมันด้วยเป้าหมายที่ดูธรรมดาสามัญ

  • จัดการอารมณ์

11. จูงใจตัวเองด้วยวิธีที่แตกต่างกันระหว่างตอนที่คุณมีความเชื่อมัน และ ตอนที่คุณไม่แน่ใจ — เมื่อมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ ให้พุ่งความสนใจไปยังภารกิจส่วนที่เหลืออยู่ แต่เมื่อความเชื่อมั่นสั่นคลอน ให้ลองนึกถึงความคืบหน้าที่คุณสร้างขึ้นมาแล้ว

12. อย่าพยายามสงบใจ — เปลี่ยนความกังวลให้กลายเป็นอารมณ์แง่บวกอันแรงกล้า

13. มุ่งความสนใจไปที่เหยื่อ ไม่ใช่ผู้กระทำผิด — เมื่อเผชิญหน้ากับความไม่ยุติธรรม การนึกถึงเหยื่อจะทำให้คุณมีความเข้าอกเข้าใจมากขึ้น จึงมีโอกาสใช้ความโกรธไปในทางสร้างสรรค์

14. ตระหนักว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว — การมีพันธมิตรที่เชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของคุณ และลงมือทำด้วยกันก็เพียงพอแล้ว

15. ระลึกไว้ว่าถ้าคุณไม่เริ่ม สภาพที่เป็นอยู่ก็จะคงอยู่ต่อไป — เราตอบสนองความไม่น่าพอใจได้ สี่วิธี ได้แก่ การถอนตัว เสนอความคิดเห็น ฝึนทน และ เมินเฉย มีเพียงการถอนตัวและเสนอความคิดเห็นเท่านั้นที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้นำ

  • จุดประกายแนวคิดต้นแบบ
  1. จัดงานประกวดนวัตกรรม
  2. สมมติว่าตัวเองเป็นคู่แข่ง — เหตุผลหนึ่งที่ผู้คนไม่ยอมสร้างแนวคิดใหม่ๆ ก็คือการขาดความรู้สึกเร่งด่วน
  3. เชิญพนักงานระดับต่างๆ จากหลายฝ่ายมาเสนอแนวคิด
  4. จัดกิจกรรมวันตรงข้าม — การตั้งคำถามว่า “มีตัวอย่างของกรณีที่ตรงข้ามบ้างไหม”
  5. ห้ามใช้คำว่าชอบ รัก และ เกลียด — เพราะคำเหล่านี้ ทำให้คนเราตอบสนองตามสัญชาตญาณโดยไม่ได้ลงมือวิเคราะห์ก่อน
  • สร้างวัฒนธรรมแห่งความเป็นต้นแบบ

6. อย่าจ้างคนโดยดูจากความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ให้จ้างคนที่จะช่วยปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้น

7. เปลี่ยนจากการจัดสัมภาษณ์ตอนลาออกเป็นการสัมภาษณ์หลังรับเข้าทำงาน

8. สอบถามปัญหา ไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหา — หากคุณให้พนักงานหาทางออก พนักงานจะลงเอยด้วยการสนับสนุนแนวคิดมากกว่าตั้งข้อสงสัย

9. เลิกแต่งตั้งทนายปีศาจ และ เสาะหาคนที่เป็นแบบนั้นจริงๆ — ความคิดเห็นคัดค้านมีประโยชน์แม้แต่ตอนที่มันเป็นความคิดเห็นที่ผิด แต่มันจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเป็นความคิดเห็นที่ออกมาจากใจจริงๆ เท่านั้น

10. ยินดีเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์ — เมื่อคุณเชื้อเชิญให้พนักงานวิพากษ์วิจารณ์คุณอย่างเปิดเผยแล้ว ก็เท่ากับคุณได้สร้างบรรยากาศที่ผู้คนจะกล้าแสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนจำนวนมาก

แนวทางปฏิบัติสำหรับพ่อแม่และครู

  1. สอบถามเด็กว่าบุคคลตัวอย่างของเขาจะทำอย่างไร
  2. เชื่อมโยงพฤติกรรมที่ดีเข้ากับนิสัย — แม้การชมเชยถึงการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องที่เห็นโดยทั่วไป แต่เด็กจะมีน้ำใจมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับคำชมเชยว่าเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่น ให้การมีน้ำใจกลายเป็นส่วนหนึ่งในตัวตนของเขา
  3. อธิบายว่าพฤติกรรมที่ไม่ดีส่งผลกระทบต่อคนอื่นอย่างไร — ให้เขามองเห็นว่าการกระทำนั้น ทำร้ายคนอื่นอย่างไร พวกเขาจะเริ่มเข้าอกเข้าใจและรู้สึกผิด และมีแรงจูงใจที่จะแก้ไขความผิดและหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นในอนาคต
  4. เน้นเรื่องค่านิยมมากกว่ากฎเกณฑ์ — กฎเกณฑ์กำหนดข้อจำกัดที่สอนให้เด็กมองโลกแบบตายตัว ส่วนค่านิยมส่งเสริมให้เด็กยอมรับหลักการมาปรับใช้กับตัวเอง
  5. เปิดช่องให้เด็กค้นหาลักษณะเฉพาะตัว — การให้เด็กเรียนรู้ที่จะให้ความสำคัญกับจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละคน เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พิจารณาแนวคิดต้นแบบ แทนที่จะตกเป็นเหยื่อของการคิดตามกลุ่ม

--

--

Rangsit Boonyasettakul
Rangsit Boonyasettakul

Written by Rangsit Boonyasettakul

การได้พูดคุยถึงเนื้อหาโดนใจในหนังสือเล่มโปรดกับใครสักคนที่รู้สึกเหมือนกัน นับเป็นความรื่นรมย์อย่างที่สุดของชีวิต…. ฮารูกิ มูราคามิ

No responses yet